เตรียมพร้อมลูกสู่ศตวรรษที่ 21 ผ่านการวางแผนการศึกษา

โดย นรินทร์ เอกวงศ์วิริยะ, CFP® สมาคมนักวางแผนการเงินไทย PLAN WELL TO LIVE WELL

เตรียมพร้อมลูกสู่ศตวรรษที่ 21 ผ่านการวางแผนการศึกษา

โดย นรินทร์ เอกวงศ์วิริยะ, CFP® สมาคมนักวางแผนการเงินไทย PLAN WELL TO LIVE WELL
315_560x260
In Focus

ศตวรรษที่ 21 เป็นยุคแห่งความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและยุคที่ทั้งโลกถูกเชื่อมโยงกันด้วยอิทธิพลของเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ๆ เด็กที่เติบโตในศตวรรษที่ 21 การทำงานอาจไม่จำเป็นต้องอยู่ในสายวิชาชีพที่เรียนมา และมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นตลอดเวลา จึงไม่เพียงแต่ต้องเก่งด้านวิชาการ แต่ต้องมีทักษะสำคัญในการดำเนินการชีวิตด้วย

 ทักษะ 4 ด้านที่จำเป็นสำหรับอนาคตที่มีสภาพแวดล้อมที่เปิดกว้าง ประกอบด้วย

        1. ทักษะพื้นฐานต่างๆ หรือทักษะความรู้ เช่น การคำนวน การอ่านเขียน และภาษา

        2. ทักษะการเรียนรู้และความคิดสร้างสรรค์ เช่น การมีความคิดสร้างสรรค์ การคิดเป็นระบบ การแก้ไขปัญหา และการสื่อสาร

        3. ทักษะชีวิตและอาชีพ เช่น การปรับตัวและการทำงานร่วมกับคนอื่นแบบทีม เป็นต้น

        4. ทักษะด้านดิจิทัลเทคโนโลยี่ต่างๆ

        ปัจจุบันเริ่มมีแนวคิดว่าในอนาคตนั้นวุฒิการศึกษาและปริญญาบัตรยังมีความสำคัญอยู่หรือไม่ มีข้อมูลและบทความที่สนับสนุนการมุ่งตรงไปฝึกงานอาชีพนั้นโดยตรงเพื่อสะสมประสบการณ์แทนการเข้าเรียนมหาวิทยาลัย คนรุ่นใหม่ก็สนใจงานที่เป็นอิสระมากขึ้น ครอบครัวที่มองถึงอนาคตของลูกจึงต้องวางแผนเพื่อการศึกษาให้สอดคล้องกับแนวทางอาชีพที่เปลี่ยนไป รวมทั้งความสนใจ ความสามารถ และความถนัดของลูก พ่อแม่จึงไม่เพียงแต่ต้องวางแผนการศึกษาในโรงเรียนเท่านั้น แต่ควรช่วยเตรียมทักษะความพร้อมในด้านอื่นให้ลูกด้วย การวางแผนการศึกษาจึงมีความซับซ้อนกว่าเดิมและอาจจำเป็นต้องวางแผนการเงินควบคู่ไปด้วย โดยคำนึงถึง

        • ค่าเทอมต่อปีของโรงเรียนต่างๆ มีช่วงกว้างตั้งแต่หลักหมื่นไปจนถึงหลักแสนปลายๆ ข้อมูลของโรงเรียนเอกชนชั้นนำพบว่าค่าเทอมต่อปีอยู่ในช่วง 60,000 – 180,000 บาทต่อปี ขณะที่โรงเรียนสองภาษามีค่าเล่าเรียนในช่วง 100,000 – 300,000 บาท สำหรับโรงเรียนนานาชาติอยู่ในช่วง 300,000 – 700,000 บาทต่อปี อย่างไรก็ตามข้อมูลเหล่านี้เป็นเพียงข้อมูลจากการสุ่มโรงเรียนบางส่วนเท่านั้นและไม่รวมค่าใช้จ่ายอื่นที่โรงเรียนเรียกเก็บ เมื่อต้องการเริ่มวางแผนการศึกษาควรสอบถามข้อมูลจากโรงเรียนที่สนใจเพื่อให้การวางแผนมีความถูกต้อง

 

 

        • ระดับชั้นเรียนที่สูงขึ้นมีค่าเทอมที่เพิ่มสูงขึ้นอีกด้วย ยกตัวอย่างจากโรงเรียนนานาชาติ 2 แห่งที่เผยแพร่ค่าเล่าเรียนไว้บนเว็บไซต์ของโรงเรียนให้เห็นภาพของค่าเทอมที่เพิ่มสูงขึ้นในแต่ละระดับชั้นเรียน การวางแผนการเงินเพื่อการศึกษาจึงต้องคำนึงถึงค่าเทอมในชั้นปีต่างๆ ด้วย

 

 

        • การวางแผนการศึกษาต้องคำนึงถึงเงินเฟ้อเพื่อการศึกษาที่ค่าเทอมจะปรับเพิ่มทุกๆ ปี อาจใช้อัตราเงินเฟ้อเพื่อการศึกษาที่ประมาณ 5% ในการคำนวณ

        • ยังต้องประมาณการค่าใช้จ่ายของกิจกรรมที่พ่อแม่ต้องจ่ายเป็นรายกิจกรรมและค่าใช้จ่ายประจำวันของลูกด้วย

        เนื่องจากการศึกษามีระยะเวลาตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาจนจบมหาวิทยาลัย ทำให้เป็นการวางแผนการเงินระยะยาวมากกว่า 10 ปี แผนการเงินเพื่อการศึกษาจึงควรประกอบด้วย

 

 

        นอกจากการวางแผนการออมการลงทุนเพื่อเป็นเงินทุนสำหรับการศึกษา ควรวางแผนการคุ้มครองความสามารถในการออมของพ่อแม่ ด้วยการทำประกันชีวิตเพื่อคุ้มครองเงินทุนการศึกษาส่วนที่ยังขาดทำให้แผนการศึกษาสามารถเดินไปได้โดยไม่สะดุด การสร้างความคุ้มครองจึงควรมีความยืดหยุ่นเพื่อให้สามารถปรับเปลี่ยนได้ตามความพร้อมทางการเงินและเป้าหมายที่อาจเปลี่ยนแปลงไปในช่วงใดช่วงหนึ่งด้วย

        สุดท้ายขอฝากว่าการวางแผนการศึกษาของลูกควรเริ่มตั้งแต่เนิ่นๆ สำหรับผู้ที่ไม่ต้องการวางแผนด้วยตนเองอาจลองปรึกษานักวางแผนการเงินให้ช่วยจัดทำแผนการศึกษาที่เหมาะสมกับความพร้อมและเป้าหมายของครอบครัว เพื่อให้ลูกสามารถพัฒนาความพร้อมด้านต่างๆ สู่การเติบใหญ่และก้าวไปในอนาคตอย่างมั่นคง

 

ติดตามความรู้และข่าวสารสมาคมนักวางแผนการเงินไทย ได้ที่ LINE@cfpthailand  , สมาคมนักวางแผนการเงินไทย Facebook Fanpage และ  www.tfpa.or.th     

 


  บทความที่เกี่ยวข้อง