ข่าวสารการลงทุน

แจ้งการลาออกของประธานกรรมการ กรรมการบริษัท การแต่งตั้งประธานกรรมการ และกรรมการตรวจสอบ
8 พ.ค. 2568
หลักทรัพย์ CSC
แหล่งข่าว CSC
เปลี่ยนแปลงกรรมการ/ผู้บริหาร               			

สิ้นสุดวาระ
วันที่มีมติคณะกรรมการ/วันที่แจ้งข่าว          			 : 08 พ.ค. 2568
ชื่อกรรมการ                             			 : นาย เทพ วงษ์วานิช

ตำแหน่งกรรมการในบริษัท (1)              			 : ประธานกรรมการ
วันที่เริ่มต้นตำแหน่ง (1)                   			 : 15 ธ.ค. 2559
วันที่สิ้นสุดตำแหน่ง (1)                    			 : 08 พ.ค. 2568

ตำแหน่งกรรมการในบริษัท (2)              			 : กรรมการอิสระ
วันที่เริ่มต้นตำแหน่ง (2)                   			 : 22 ก.ค. 2552
วันที่สิ้นสุดตำแหน่ง (2)                    			 : 08 พ.ค. 2568

ตำแหน่งกรรมการในบริษัท (3)              			 : ประธานกรรมการบริหาร
วันที่สิ้นสุดตำแหน่ง (3)                    			 : 08 พ.ค. 2568

เหตุผลที่สิ้นสุดวาระ                        			 : ลาออกจากตำแหน่ง/บริษัท เนื่องจากติดภารกิจอื่น 
และอาจส่งผลให้ไม่สามารถปฏิบัติงานให้แก่บริษัทฯ ในฐานะกรรมการบริษัทได้อย่างเต็มที่
______________________________________________________________________
เปลี่ยนแปลงกรรมการ/ผู้บริหาร               			

สิ้นสุดวาระ
ชื่อกรรมการ                             			 : นาย ทาคาชิ คะซึตะ

ตำแหน่งกรรมการในบริษัท (1)              			 : กรรมการ
วันที่เริ่มต้นตำแหน่ง (1)                   			 : 09 พ.ค. 2566
วันที่สิ้นสุดตำแหน่ง (1)                    			 : 08 พ.ค. 2568

เหตุผลที่สิ้นสุดวาระ                        			 : ลาออกจากตำแหน่ง/บริษัท เนื่องจากติดภารกิจอื่น 
และอาจส่งผลให้ไม่สามารถปฏิบัติงานให้แก่บริษัทฯ ในฐานะกรรมการบริษัทได้อย่างเต็มที่
______________________________________________________________________
เปลี่ยนแปลงกรรมการ/ผู้บริหาร               			

สิ้นสุดวาระ
ชื่อกรรมการ                             			 : นาย พงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์

ตำแหน่งกรรมการในบริษัท (1)              			 : กรรมการตรวจสอบ
วันที่เริ่มต้นตำแหน่ง (1)                   			 : 06 พ.ย. 2566
วันที่สิ้นสุดตำแหน่ง (1)                    			 : 08 พ.ค. 2568

เหตุผลที่สิ้นสุดวาระ                        			 : ลาออกจากตำแหน่ง/บริษัท เนื่องจากติดภารกิจอื่น
______________________________________________________________________
เปลี่ยนแปลงกรรมการ/ผู้บริหาร               			

สิ้นสุดวาระ
ชื่อกรรมการ                             			 : น.ส. สุวิมล กีรติพิบูล

ตำแหน่งกรรมการในบริษัท (1)              			 : กรรมการบริหาร
วันที่สิ้นสุดตำแหน่ง (1)                    			 : 08 พ.ค. 2568

เหตุผลที่สิ้นสุดวาระ                        			 : ลาออกจากตำแหน่ง/บริษัท เนื่องจากติดภารกิจอื่น
______________________________________________________________________
เปลี่ยนแปลงกรรมการ/ผู้บริหาร               			

แต่งตั้งใหม่
ชื่อกรรมการ                             			 : นาย พงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์

ตำแหน่งกรรมการในบริษัท (1)              			 : ประธานกรรมการ
วันที่เริ่มต้นตำแหน่ง (1)                   			 : 08 พ.ค. 2568

ตำแหน่งกรรมการในบริษัท (2)              			 : ประธานกรรมการบริหาร
วันที่เริ่มต้นตำแหน่ง (2)                   			 : 08 พ.ค. 2568

______________________________________________________________________
เปลี่ยนแปลงกรรมการ/ผู้บริหาร               			

แต่งตั้งใหม่
ชื่อกรรมการ                             			 : น.ส. สุวิมล กีรติพิบูล

ตำแหน่งกรรมการในบริษัท (1)              			 : กรรมการตรวจสอบ
วันที่เริ่มต้นตำแหน่ง (1)                   			 : 08 พ.ค. 2568

รายละเอียดเพิ่มเติม                       			 : 
อยู่ในตำแหน่งเท่ากับระยะเวลาที่เหลืออยู่ของนายพงศ์ภาณุ เศวตรุนทร์
______________________________________________________________________
แบบแจ้งรายชื่อและขอบเขตการดำเนินงานของคณะกรรมการตรวจสอบ (F 24-1)

ขอบเขต หน้าที่ และความรับผิดชอบของคณะกรรมการตรวจสอบ			
การกำหนด/เปลี่ยนแปลงขอบเขต หน้าที่ และความรับผิดชอบของคณะกรรมการตรวจสอบ  :
1.พิจารณา ให้ความเห็นชอบต่อบทบาท และความรับผิดชอบ ของหัวหน้าสูงสุดของตรวจสอบภายใน 
และในกรณีที่ฝ่ายจัดการมีความจำเป็น อาจเสนอให้คณะกรรมการตรวจสอบ พิจารณาให้คำแนะนำเกี่ยวกับคุณสมบัติ
ประสบการณ์ที่เหมาะสมของหัวหน้าสูงสุดของตรวจสอบภายในได้
2.พิจารณาความเป็นอิสระของสำนักตรวจสอบภายใน และให้ความเห็นชอบ 
กรอบดำเนินการเมื่อเกิดการด้อยค่าความเป็นอิสระของหน่วยงานตรวจสอบภายใน
ตลอดจนให้ความเห็นชอบในการพิจารณาแต่งตั้ง โยกย้าย เลิกจ้าง
และประเมินผลการปฏิบัติงานของหัวหน้าสำนักตรวจสอบภายในร่วมกับผู้จัดการใหญ่  รวมทั้ง
เปิดโอกาสให้หัวหน้าสูงสุดของตรวจสอบภายใน ได้ประชุมเป็นการเฉพาะ โดยไม่มีฝ่ายบริหารเข้าร่วมประชุมด้วย
เพื่อหารือ เกี่ยวกับเหตุการณ์ที่สำคัญ หรืออ่อนไหว
3.พิจารณาให้ความเห็นและมุมมองที่มีต่อกลยุทธ์ วัตถุประสงค์ และประเด็นความเสี่ยงระดับองค์กร 
เพื่อช่วยให้หัวหน้าสูงสุดของตรวจสอบภายใน สามารถลำดับความสำคัญของงานตรวจสอบได้
โดยการกำหนด/เปลี่ยนแปลง ขอบเขต หน้าที่     			 : 08 พ.ค. 2568
ความรับผิดชอบดังกล่าวให้มีผล ณ วันที่

รายชื่อคณะกรรมการตรวจสอบ มีดังนี้          			
ลำดับ                                 			 : 1
ตำแหน่งคณะกรรมการตรวจสอบ               			 : ประธานกรรมการตรวจสอบ
ชื่อ-นามสกุล                             			 : นายศิโรตม์  สวัสดิ์พาณิชย์
วาระการดำรงตำแหน่งคงเหลือ (ปี)           			 : 1 ปี 6 เดือน

ลำดับ                                 			 : 2
ตำแหน่งคณะกรรมการตรวจสอบ               			 : กรรมการตรวจสอบ
ชื่อ-นามสกุล                             			 : นายสาธิต  ชาญเชาวน์กุล
วาระการดำรงตำแหน่งคงเหลือ (ปี)           			 : 1 ปี 6 เดือน

ลำดับ                                 			 : 3
ตำแหน่งคณะกรรมการตรวจสอบ               			 : กรรมการตรวจสอบ
ชื่อ-นามสกุล                             			 : น.ส.สุวิมล  กีรติพิบูล
วาระการดำรงตำแหน่งคงเหลือ (ปี)           			 : 1 ปี 6 เดือน

ลำดับ                                 			 : 4
ตำแหน่งคณะกรรมการตรวจสอบ               			 : เลขานุการคณะกรรมการตรวจสอบ
ชื่อ-นามสกุล                             			 : น.ส.วรรณพา  สมประสิทธิ์
วาระการดำรงตำแหน่งคงเหลือ (ปี)           			 :

จำนวนหนังสือรับรองประวัติกรรมการที่แนบมาด้วย 			 : 1
(ท่าน)
ลำดับที่ กรรมการตรวจสอบที่มีความรู้และประสบการณ์ เพียงพอที่จะสามารถทำหน้าที่ในการสอบทานความ 
น่าเชื่อถือของงบการเงิน  :
1

คณะกรรมการตรวจสอบของบริษัทมีขอบเขต หน้าที่ และความรับผิดชอบต่อคณะกรรมการบริษัท ดังต่อไปนี้  :
1. สอบทานให้บริษัทมีการรายงานทางการเงินอย่างถูกต้อง 
และเปิดเผยข้อมูลอย่างเพียงพอตามมาตรฐานการรายงานทางการเงิน
2. สอบทานให้บริษัทมีระบบการควบคุมภายใน (Internal Control) และการตรวจสอบภายใน (Internal Audit) 
ที่เหมาะสมและมีประสิทธิผล รวมถึงการพิจารณา แบบประเมินความเพียงพอของระบบการควบคุมภายใน
เพื่อให้มั่นใจว่า บริษัทมีระบบการควบคุมภายในที่เพียงพอ และนำเสนอต่อคณะกรรมการบริษัทฯ
3. พิจารณาให้ความเห็นชอบต่อบทบาท และความรับผิดชอบ ของหัวหน้าสูงสุดของตรวจสอบภายใน 
และในกรณีที่ฝ่ายจัดการมีความจำเป็น อาจเสนอให้คณะกรรมการตรวจสอบ พิจารณาให้คำแนะนำเกี่ยวกับคุณสมบัติ
ประสบการณ์ที่เหมาะสมของหัวหน้าสูงสุดของตรวจสอบภายในได้ (เพิ่มเติม)
4. พิจารณาความเป็นอิสระของสำนักตรวจสอบภายใน และให้ความเห็นชอบ 
กรอบดำเนินการเมื่อเกิดการด้อยค่าความเป็นอิสระของหน่วยงานตรวจสอบภายใน
ตลอดจนให้ความเห็นชอบในการพิจารณาแต่งตั้ง โยกย้าย เลิกจ้าง
และประเมินผลการปฏิบัติงานของหัวหน้าสำนักตรวจสอบภายในร่วมกับผู้จัดการใหญ่
รวมทั้งเปิดโอกาสให้หัวหน้าสูงสุดของตรวจสอบภายใน ได้ประชุมเป็นการเฉพาะ
โดยไม่มีฝ่ายบริหารเข้าร่วมประชุมด้วย เพื่อหารือเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่สำคัญ หรืออ่อนไหว (แก้ไข)
5. พิจารณาให้ความเห็นชอบและอนุมัติกฎบัตรการตรวจสอบภายใน ที่ครอบคลุมถึงวัตถุประสงค์ 
อำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบของสำนักตรวจสอบภายใน
6. พิจารณาอนุมัติแผนการตรวจสอบภายใน  
และสอบทานผลการปฏิบัติงานตรวจสอบของสำนักตรวจสอบภายในตามมาตรฐานสากล
รวมถึงพิจารณาให้ความเห็นชอบงบประมาณและอัตรากำลังพลของสำนักตรวจสอบภายใน
7. สอบทานให้บริษัทปฏิบัติตามกฎหมาย ว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ข้อกำหนดของ             
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของบริษัท
8. พิจารณาสอบทานจรรยาบรรณและความมีประสิทธิผลของระบบการติดตามการปฏิบัติตามและการบังคับใช้
9. สอบทานให้บริษัทมีกระบวนการในการต่อต้านคอร์รัปชัน สอดคล้องตามแนวทางของหน่วยงานกำกับดูแลต่างๆ 
อย่างมีประสิทธิผล เริ่มตั้งแต่การส่งเสริม และการสร้างความตระหนักรู้ (Awareness) การประเมินความเสี่ยง
 และการสร้างระบบงานเชิงป้องกัน ตลอดจนให้คำปรึกษาและติดตามให้มีการปฏิบัติตามนโยบายต่อต้านคอร์รัปชัน
10. สอบทานให้บริษัทมีการรับเรื่องร้องเรียนและเบาะแสการกระทำผิดและการทุจริต  
ตลอดจนการดำเนินการให้พนักงานและผู้มีส่วนได้เสียต่างๆ สามารถให้ข้อมูลเกี่ยวกับความไม่เหมาะสม
ของรายการในงบการเงินหรือเรื่องอื่นๆได้อย่างมั่นใจว่ามีกระบวนการสอบสวนข้อเท็จจริงอย่างเป็นอิสระ
และมีการติดตามอย่างเหมาะสม
11. พิจารณา คัดเลือก เสนอแต่งตั้งบุคคลซึ่งมีความเป็นอิสระเพื่อทำหน้าที่เป็นผู้สอบบัญชีของบริษัท 
และเสนอค่าตอบแทนผู้สอบบัญชีของบริษัทต่อคณะกรรมการบริษัทฯ รวมทั้งเข้าร่วมประชุมกับผู้สอบบัญชีโดยไม่มี
ฝ่ายบริหารเข้าร่วมประชุมด้วยอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง เพื่อหารือและขอความเห็นจากผู้สอบบัญชีในเรื่อง
    ต่าง ๆ
12. พิจารณารายการที่เกี่ยวโยงกันหรือรายการที่อาจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ 
ให้เป็นไปตามกฎหมายและข้อกำหนดของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ทั้งนี้
เพื่อให้มั่นใจว่ารายการดังกล่าวสมเหตุสมผล มีความถูกต้อง ครบถ้วน โปร่งใส และ
เป็นประโยชน์สูงสุดต่อบริษัท
13. ทบทวนกับฝ่ายบริหารในเรื่องนโยบายการบริหารความเสี่ยง การปฏิบัติตามนโยบาย 
และแนวทางการบริหารความเสี่ยงที่สำคัญของบริษัท
รวมถึงการกำกับดูแลระดับความเสี่ยงให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการบริษัทฯ กำหนด
และพิจารณาถึงความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต
14. พิจารณาให้ความเห็นและมุมมองที่มีต่อกลยุทธ์ วัตถุประสงค์ และประเด็นความเสี่ยงระดับองค์กร 
เพื่อช่วยให้หัวหน้าสูงสุดของตรวจสอบภายใน สามารถลำดับความสำคัญของงานตรวจสอบได้ (เพิ่มเติม)
15. จัดทำรายงานการกำกับดูแลกิจการของคณะกรรมการตรวจสอบ โดยเปิดเผยไว้ในรายงานประจำปีของบริษัท  
ซึ่งรายงานดังกล่าวต้องลงนามโดยประธานกรรมการตรวจสอบและต้องประกอบด้วยข้อมูลอย่างน้อยดังต่อไปนี้
ก) ความเห็นเกี่ยวกับความถูกต้อง ครบถ้วน เป็นที่เชื่อถือได้ของรายงานทางการเงินของบริษัท
ข) ความเห็นเกี่ยวกับความเพียงพอของระบบควบคุมภายในของบริษัท
ค) ความเห็นเกี่ยวกับการปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ข้อกำหนดของตลาดหลักทรัพย์ 
หรือ กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของบริษัท
ง) ความเห็นเกี่ยวกับความเหมาะสมของผู้สอบบัญชี
จ) ความเห็นเกี่ยวกับรายการที่อาจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์
ฉ) จำนวนการประชุมคณะกรรมการตรวจสอบและการเข้าร่วมประชุมของกรรมการตรวจสอบแต่ละท่าน
ช) ความเห็นหรือข้อสังเกตโดยรวมที่คณะกรรมการตรวจสอบได้รับจากการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎบัตร (Charter)
ซ) รายการอื่นที่เห็นว่าผู้ถือหุ้นและผู้ลงทุนทั่วไปควรทราบ 
ภายใต้ขอบเขตหน้าที่และความรับผิดชอบที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการบริษัทฯ
16. ดำเนินการตรวจสอบพฤติการณ์อันควรสงสัยว่ากรรมการ ผู้จัดการ 
หรือบุคคลซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของบริษัทได้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรั
พย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 ซึ่งผู้สอบบัญชีได้ตรวจพบรายงานให้ทราบ
และให้คณะกรรมการตรวจสอบรายงานผลการตรวจสอบในเบื้องต้นให้แก่คณะกรรมการบริษัทฯ
สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์และผู้สอบบัญชีทราบภายในเวลา 30
วันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งจากผู้สอบบัญชี
17. ในการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการตรวจสอบ หากพบหรือมีข้อสงสัยว่ามีรายการหรือการกระทำ 
ซึ่งอาจมีผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อฐานะการเงินและผลการดำเนินงานของบริษัทให้คณะกรรมการตรวจสอบรายงานต่อ
คณะกรรมการบริษัทฯ เพื่อดำเนินการปรับปรุงแก้ไขภายในเวลาที่คณะกรรมการตรวจสอบเห็นสมควร ดังนี้ :-
ก) รายการที่เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์
ข) การทุจริต หรือมีสิ่งผิดปกติ หรือมีความบกพร่องที่สำคัญในระบบการควบคุมภายใน
ค) การฝ่าฝืนกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์ ข้อกำหนดของตลาดหลักทรัพย์             
แห่งประเทศไทย และหรือกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของบริษัท
หากคณะกรรมการบริษัทฯ หรือผู้บริหารไม่ดำเนินการให้มีการปรับปรุงแก้ไขภายในเวลาตามวรรคหนึ่ง 
กรรมการตรวจสอบรายใดรายหนึ่งอาจรายงานว่ามีรายการหรือการกระทำตามวรรคหนึ่ง
ต่อสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หรือตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
18. รายงานผลการดำเนินงานของคณะกรรมการตรวจสอบให้คณะกรรมการบริษัทฯทราบ เป็นประจำทุกไตรมาส
19. พิจารณาทบทวนและประเมินความเพียงพอของกฎบัตรคณะกรรมการตรวจสอบและเสนอต่อคณะกรรมการบริษัทฯ 
เพื่อพิจารณาอนุมัติเปลี่ยนแปลง
20. ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กฎหมายกำหนดหรือคณะกรรมการบริษัทฯจะมอบหมาย 
ด้วยความเห็นชอบจากคณะกรรมการตรวจสอบ
______________________________________________________________________

บริษัทขอรับรองว่าสารสนเทศที่รายงานข้างต้นนี้ถูกต้องและครบถ้วนทุกประการ

                         ลงลายมือชื่อ _________________
                                     ( นายโอภาศ ธันวารชร )
                                       กรรมการและผู้จัดการใหญ่
                              ผู้มีอำนาจรายงานสารสนเทศ
______________________________________________________________________

สารสนเทศฉบับนี้จัดทำและเผยแพร่โดยบริษัทจดทะเบียนและบริษัทผู้ออกหลักทรัพย์ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ 
ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อการเผยแพร่ข้อมูลหรือเอกสารใดๆของบริษัทจดทะเบียนและบริษัทผู้ออกหลักทรัพย์
ต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเท่านั้น ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยไม่มีความรับผิดชอบใดๆ
ในความถูกต้องและครบถ้วนของเนื้อหา ตัวเลข รายงานหรือข้อคิดเห็นใดๆ ที่ปรากฎในสารสนเทศฉบับนี้
และไม่มีความรับผิดในความสูญเสียหรือเสียหายใดๆ ที่อาจเกิดขึ้นไม่ว่าในกรณีใด ในกรณีที่ท่านมีข้อสงสัย
หรือต้องการรายละเอียดเพิ่มเติม โปรดติดต่อบริษัทจดทะเบียนและบริษัทผู้ออกหลักทรัพย์ซึ่งได้จัดทำ
และเผยแพร่สารสนเทศฉบับนี้

หากท่านต้องการดูรายละเอียดสารสนเทศฉบับนี้แบบเต็ม โปรดคลิก "รายละเอียดแบบเต็ม"