ข่าวสารการลงทุน

แจ้งแต่งตั้งกรรมการตรวจสอบแทนกรรมการที่ออกจากตำแหน่งตามวาระ
14 พ.ค. 2568
หลักทรัพย์ PSTC
แหล่งข่าว PSTC
เปลี่ยนแปลงกรรมการ/ผู้บริหาร               			

แต่งตั้งใหม่
วันที่มีมติคณะกรรมการ/วันที่แจ้งข่าว          			 : 14 พ.ค. 2568
ชื่อกรรมการ                             			 : นาย อโณทัย คุณาลัย

ตำแหน่งกรรมการในบริษัท (1)              			 : กรรมการตรวจสอบ
วันที่เริ่มต้นตำแหน่ง (1)                   			 : 15 พ.ค. 2568

______________________________________________________________________
แบบแจ้งรายชื่อและขอบเขตการดำเนินงานของคณะกรรมการตรวจสอบ (F 24-1)

ขอบเขต หน้าที่ และความรับผิดชอบของคณะกรรมการตรวจสอบ			

รายชื่อคณะกรรมการตรวจสอบ มีดังนี้          			
ลำดับ                                 			 : 1
ตำแหน่งคณะกรรมการตรวจสอบ               			 : ประธานกรรมการตรวจสอบ
ชื่อ-นามสกุล                             			 : นายวรพงศ์  จำจด
วาระการดำรงตำแหน่งคงเหลือ (ปี)           			 : 1 ปี 7 เดือน 11 วัน

ลำดับ                                 			 : 2
ตำแหน่งคณะกรรมการตรวจสอบ               			 : กรรมการตรวจสอบ
ชื่อ-นามสกุล                             			 : นายสกุล  พจนารถ
วาระการดำรงตำแหน่งคงเหลือ (ปี)           			 : 2 ปี 11 เดือน 22 วัน

ลำดับ                                 			 : 3
ตำแหน่งคณะกรรมการตรวจสอบ               			 : กรรมการตรวจสอบ
ชื่อ-นามสกุล                             			 : นายอโณทัย  คุณาลัย
วาระการดำรงตำแหน่งคงเหลือ (ปี)           			 : 11 เดือน 21 วัน

ลำดับ                                 			 : 4
ตำแหน่งคณะกรรมการตรวจสอบ               			 : เลขานุการคณะกรรมการตรวจสอบ
ชื่อ-นามสกุล                             			 :
วาระการดำรงตำแหน่งคงเหลือ (ปี)           			 :


คณะกรรมการตรวจสอบของบริษัทมีขอบเขต หน้าที่ และความรับผิดชอบต่อคณะกรรมการบริษัท ดังต่อไปนี้  :
1. การดูแลระบบการควบคุมภายในให้มีประสิทธิภาพ เพียงพอ เหมาะสม
1.1 สอบทานให้บริษัทมีระบบการควบคุมภายใน (Internal Control) การตรวจสอบภายใน (Internal Audit) 
ที่เหมาะสม และมีประสิทธิผล และพิจารณาความเป็นอิสระของหน่วยงานตรวจสอบภายใน
รวมถึงกำหนดโครงสร้างของบริษัทให้หน่วยงานตรวจสอบภายในขึ้นตรง และรายงานต่อคณะกรรมการตรวจสอบโดยตรง
1.2 พิจารณาถึงความรู้ความสามารถ ประสบการณ์ และความเข้าใจในกิจการของบริษัทในระดับที่ทราบถึงจุดเสี่ยง 
และเรื่องที่เป็นนัยสำคัญที่ต้องดำเนินการตรวจสอบ
1.3 ร่วมวางแผนการตรวจสอบระบบการควบคุมภายในกับหน่วยงานตรวจสอบภายใน ไม่ว่าจะเป็นทั้ง IA Inhouse หรือ 
IA Outsource โดยพิจารณาถึงประเภท และระดับความเสี่ยงของเรื่องที่อาจส่งผลกระทบต่อตัวบริษัท
หากเป็นเรื่องที่มีความเสี่ยงสูงต้องเร่งเข้าไปตรวจสอบพร้อมทั้งหามาตรการเพื่อยับยั้งความเสี่ยงดังกล่าว
ทันที
1.4 ดำเนินการทบทวน และปรับปรุงระบบการควบคุมภายในของบริษัท และบริษัทย่อยอย่างต่อเนื่อง และสม่ำเสมอ 
เพื่อให้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงไปของการประกอบกิจการข้างต้น ทั้งนี้
หากบริษัทมีการดำเนินกิจการในต่างประเทศอย่างมีนัยสำคัญ
คณะกรรมการตรวจสอบต้องดำเนินการเพื่อให้มั่นใจว่า ระบบการควบคุมภายในของบริษัทโดยรวม
สามารถตรวจสอบสิ่งผิดปกติ
และป้องกันการทุจริตที่อาจเกิดขึ้นจากรายการธุรกรรมของบริษัทที่จดทะเบียนในต่างประเทศได้
1.5 ส่งเสริมให้บริษัทมีช่องทางการรับเรื่องร้องเรียนหรือการแจ้งเบาะแสถึงพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม 
(Whistleblower) รวมถึงการดำเนินการให้มีนโยบาย หรือวิธีการในการรับมือกับเรื่องร้องเรียน
และปกป้องผู้แจ้งเบาะแสอย่างเหมาะสม เพื่อให้พนักงาน และผู้มีส่วนได้เสียต่าง ๆ
สามารถให้ข้อมูลในเรื่องที่ตนเป็นกังวลเกี่ยวกับความไม่เหมาะสมได้อย่างมั่นใจ
ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวจะช่วยให้คณะกรรมการตรวจสอบ
และหน่วยงานตรวจสอบภายในทราบถึงประเด็นความผิดปกติในบริษัทได้อย่างรวดเร็ว และท่วงที
1.6 เมื่อพบ หรือมีข้อสังเกตจากการตรวจสอบระบบการควบคุมภายใน หรือพบข้อบกพร่องจากการขาดระบบ 
หรือไม่ปฏิบัติตามระบบการควบคุมภายใน รวมถึงไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ในเรื่องต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง
คณะกรรมการตรวจสอบต้องตั้งข้อสังเกต พร้อมทั้งสอบถามถึงสาเหตุ และขอบเขตการตรวจสอบจากผู้ที่เกี่ยวข้อง
2. การเปิดเผยข้อมูลและการจัดทำรายงานทางการเงิน
2.1 พิจารณาผลการปฏิบัติงานของผู้สอบบัญชี เพื่อคัดเลือก เสนอแต่งตั้งบุคคลเป็นผู้สอบบัญชี 
และให้ความเห็นตั้งแต่ต้นของกระบวนการ โดยร่วมกับฝ่ายจัดการในการกำหนดขอบเขตการจ้างงานให้มีความชัดเจน
และเหมาะสม รวมถึงต้องพิจารณาความเป็นอิสระ ความสามารถของผู้สอบบัญชี
และระยะเวลาการทำหน้าที่ของผู้สอบบัญชีให้แก่บริษัท
ตามแนวทางที่สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (สำนักงาน ก.ล.ต.)
ได้จัดทำขึ้นสำหรับคณะกรรมการตรวจสอบในการพิจารณาคัดเลือกผู้สอบบัญชี
2.2 ติดตามดูแลให้ฝ่ายจัดการจัดทำงบการเงินภายในระยะเวลาที่เหมาะสม เพื่อให้ผู้สอบบัญชี 
และคณะกรรมการตรวจสอบมีระยะเวลาในการตรวจสอบ และตั้งข้อสังเกตที่เพียงพอ
เพื่อให้งบการเงินที่บริษัทจัดทำขึ้นนั้นมีความถูกต้อง โปร่งใส
และสามารถเปิดเผยต่อผู้ลงทุนได้ทันตามกรอบระยะเวลาที่กฎเกณฑ์กำหนด
2.3 สื่อสารกับฝ่ายจัดการโดยเฉพาะผู้มีหน้าที่ดูแลสูงสุดด้านบัญชี และการเงินของบริษัทอย่างสม่ำเสมอ 
เพื่อให้ทราบ และสามารถหาแนวทางในการรับมือได้อย่างทันท่วงที ในกรณีที่มีเหตุการณ์สำคัญ
หรือมีการเปลี่ยนแปลงที่อาจส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อฐานะทางการเงิน และผลการดำเนินงานของบริษัท
2.4 หากได้รับรายงานจากผู้สอบบัญชี หรือตรวจพบความผิดปกติในงบการเงิน ต้องรีบดำเนินการสอบถามถึงสาเหตุ 
และขอบเขตการตรวจสอบจากผู้ที่เกี่ยวข้อง เช่น ผู้สอบบัญชี  และผู้มีหน้าที่ดูแลรับผิดชอบสูงสุดด้านบัญชี
 และการเงินของบริษัท เป็นต้น
2.5 สอบทานความสอดคล้องของข้อมูลในรายงานทางการเงินของบริษัท 
กับข้อมูลอื่นใดที่เกี่ยวข้องกับฐานะทางการเงิน
และผลการดำเนินงานของบริษัทที่ได้มีการสื่อสารกับผู้ลงทุน หรือบุคคลที่เกี่ยวข้อง
2.6 ทบทวนความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการบัญชีหรือการเงินอย่างต่อเนื่อง 
เพื่อที่จะได้เท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลงและสามารถปฏิบัติหน้าที่ในฐานะกรรมการตรวจสอบได้อย่างมีประสิทธิภา
พมากขึ้น
3. การปฏิบัติตามมาตรา 89/25 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535
3.1 พิจารณาความมีนัยสำคัญ และความเสี่ยงของเรื่องต่อบริษัท และผู้ลงทุน 
และเร่งดำเนินการให้บริษัทเปิดเผยข้อมูลในเบื้องต้นให้ผู้ลงทุนทราบโดยเร็ว
หากพิจารณาแล้วเห็นว่าพฤติการณ์อันควรสงสัยข้างต้น อาจกระทบกับสิทธิของผู้ถือหุ้นอย่างมีนัยสำคัญ
หรือมีประเด็นที่ผู้ถือหุ้นควรได้รับทราบโดยทันที
3.2 พิจารณาบุคคลที่อาจมีส่วนเกี่ยวข้องกับพฤติการณ์ดังกล่าว โดยในกรณีที่พบว่ากรรมการ 
และผู้บริหารของบริษัท อาจมีส่วนเกี่ยวข้องกับพฤติการณ์ข้างต้น กรรมการตรวจสอบต้องดำเนินการใด ๆ
เพื่อให้มั่นใจได้ว่า
กระบวนการตรวจสอบนั้นมีความเป็นอิสระและไม่อยู่ภายใต้อำนาจควบคุมของกลุ่มผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับพฤติการณ
์อันควรสงสัย
3.3 พิจารณากำหนดมาตรการ หรือแนวทางในการยับยั้งพฤติการณ์อันควรสงสัย 
เพื่อบรรเทาผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นต่อทั้งตัวบริษัท และผู้ถือหุ้นโดยรวม
3.4 พิจารณากำหนดมาตรการในการยกระดับระบบควบคุมภายในของบริษัท เพื่อป้องกัน 
และป้องปรามพฤติการณ์อันควรสงสัย เพื่อไม่ให้เกิดพฤติการณ์ข้างต้นขึ้นอีกในอนาคต
4. การสอดส่อง และติดตามการทำรายการได้มา หรือจำหน่ายไปซึ่งทรัพย์สินที่มีมูลค่านัยสำคัญ (MT) 
และการทำธุรกรรมกับบุคคลที่เกี่ยวโยงกัน (RPT) ของบริษัท
4.1 ร่วมพิจารณา และให้ความเห็นต่อการเข้าทำรายการ MT & RPT ที่มีนัยสำคัญ 
ซึ่งต้องขออนุมัติจากที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท หรือที่ประชุมผู้ถือหุ้น
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีที่บริษัทมีการเข้าทำรายการ MT & RPT บ่อยครั้ง การเข้าทำรายการในต่างประเทศ
การเปลี่ยนธุรกิจหลัก และการขยายธุรกิจใหม่อย่างมีนัยสำคัญ
และพิจารณาเพิ่มเติมเกี่ยวกับนโยบายในการดำเนินธุรกิจว่ามีความเหมาะสมหรือไม่ และแผนการลงทุน
และสภาพคล่อง เป็นต้น
4.2 ดำเนินการจัดให้มีระบบ หรือกระบวนการให้ฝ่ายจัดการรายงานการเข้าทำธุรกรรมรายการ MT & RPT 
ซึ่งฝ่ายจัดการเป็นผู้มีอำนาจอนุมัติดังกล่าว
พร้อมทั้งวิเคราะห์ความสมเหตุสมผลของการทำรายการให้ทราบอย่างต่อเนื่อง
และพิจารณาเพิ่มเติมเกี่ยวกับความสมเหตุสมผล และลักษณะโครงการ รวมทั้งต้องพิจารณาว่า
การเข้าทำธุรกรรมในลักษณะข้างต้น อาจส่อไปถึงเจตนาในการหลีกเลี่ยงกฎเกณฑ์การเข้าทำรายการ MT & RPT 
หรือไม่ด้วย
4.3 คณะกรรมการบริษัทควรให้การสนับสนุนในด้านต่าง ๆ 
เพื่อให้การทำหน้าที่ของคณะกรรมการตรวจสอบเป็นไปอย่างลุล่วง เช่น
การว่าจ้างผู้เชี่ยวชาญซึ่งมีความเป็นอิสระมาช่วยในการให้ความเห็นเพื่อประกอบการพิจารณาสำหรับรายการ MT
& RPT ที่มีลักษณะเฉพาะ
4.4 ติดตาม และสอบถามถึงความคืบหน้าของการเข้าทำรายการ MT & RPT ดังกล่าวกับฝ่ายจัดการ 
พร้อมทั้งต้องติดตามการเข้าลงทุน รวมทั้งดูแลให้บริษัทมีการเปิดเผย
และรายงานความคืบหน้าต่อผู้ถือหุ้นอย่างสม่ำเสมอ และเหมาะสม
4.5 ติดตามความคืบหน้าของการเข้าทำรายการ MT & RPT โดยพิจารณาร่วมกับข้อมูลต่าง ๆ 
เพื่อสอดส่องความผิดปกติในภาพรวม
เพื่อไม่ให้เกิดกรณีที่บริษัทใช้การเปิดเผยข้อมูลเป็นช่องทางในการสร้างราคาหุ้นของบริษัทจดทะเบียน
เพื่อประโยชน์ของกลุ่มบุคคลใดบุคคลหนึ่ง
5. การติดตามการใช้เงินระดมทุนให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่ได้มีการเปิดเผยไว้
5.1 พิจารณารายละเอียดที่เกี่ยวข้องกับการใช้เงินระดมทุน พร้อมทั้งให้ฝ่ายจัดการศึกษาถึงสภาพเศรษฐกิจ 
และแนวโน้มการเติบโตของอุตสาหกรรมของกิจการที่บริษัทจะใช้เงินระดมทุน เพื่อเข้าลงทุนให้ถี่ถ้วน
เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดกรณีที่บริษัทจดทะเบียนระดมทุนไปแล้ว และไม่สามารถลงทุนในโครงการ
หรือกิจการตามที่ได้มีการคาดการณ์ไว้
5.2	ดำเนินการให้บริษัทมีกลไกในการดูแล และติดตามการใช้เงินระดมทุนอย่างถูกต้อง และเหมาะสม 
และเป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่ได้มีการเปิดเผยไว้ เช่น
มีระบบควบคุมภายในที่ทำให้การเบิกจ่ายเงินระดมทุนมีความโปร่งใส และตรวจสอบได้ เป็นต้น เพื่อยับยั้ง
และป้องกันไม่ให้บริษัทนำเงินที่ได้จากการระดมทุนไปใช้อย่างไม่เหมาะสม และผิดวัตถุประสงค์
ซึ่งอาจสร้างความเสียหายต่อบริษัท และผู้ถือหุ้นได้
6. การจัดทำรายงานของคณะกรรมการตรวจสอบ และการพิจารณาสอบทานเรื่องอื่น ๆ
6.1 จัดทำรายงานของคณะกรรมการตรวจสอบ โดยเปิดเผยไว้ในรายงานประจำปีของบริษัท 
ซึ่งรายงานดังกล่าวต้องลงนามโดยประธานกรรมการตรวจสอบ และต้องประกอบด้วยข้อมูลอย่างน้อยดังต่อไปนี้
 (1) ความเห็นเกี่ยวกับความถูกต้อง ครบถ้วน เป็นที่เชื่อถือได้ของรายงานทางการเงินของบริษัท
 (2) ความเห็นเกี่ยวกับความเพียงพอของระบบควบคุมภายใน 
และประสิทธิผลของการบริหารความเสี่ยงโดยภาพรวมของบริษัท
 (3) ความเห็นเกี่ยวกับการปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ 
ข้อกำหนดของตลาดหลักทรัพย์ หรือ กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของบริษัท
 (4) ความเห็นเกี่ยวกับความเหมาะสมของผู้สอบบัญชี
 (5) ความเห็นเกี่ยวกับรายการที่อาจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์
 (6) จำนวนการประชุมคณะกรรมการตรวจสอบ และการเข้าร่วมประชุมของกรรมการตรวจสอบแต่ละท่าน
 (7) ความเห็น หรือข้อสังเกตโดยรวมที่คณะกรรมการตรวจสอบได้รับจากการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎบัตร (charter)
 (8) รายการอื่นที่เห็นว่าผู้ถือหุ้น และผู้ลงทุนทั่วไปควรทราบภายใต้ขอบเขตหน้าที่ 
และความรับผิดชอบที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการ
6.2 พิจารณาทบทวนกฎบัตรคณะกรรมการตรวจสอบตามความเหมาะสม 
และเสนอต่อคณะกรรมการบริษัทเพื่อพิจารณาอนุมัติต่อไป
6.3	พิจารณาประเมินผลการปฏิบัติงานของคณะกรรมการตรวจสอบ ด้วยตนเองทั้งในภาพรวมเป็นรายคณะ 
และรายบุคคลเป็นประจำทุกปี
6.4	ปฏิบัติการอื่นใดตามที่คณะกรรมการบริษัทมอบหมาย ด้วยความเห็นชอบจากคณะกรรมการตรวจสอบ
______________________________________________________________________

บริษัทขอรับรองว่าสารสนเทศที่รายงานข้างต้นนี้ถูกต้องและครบถ้วนทุกประการ

                         ลงลายมือชื่อ _________________
                                     ( นายธนัช ปวรวิปุลยากร )
                                       กรรมการ
                              ผู้มีอำนาจรายงานสารสนเทศ

                         ลงลายมือชื่อ _________________
                                     ( พล.ต.ท.นิทัศน์ ลิ้มศิริพันธ์ )
                                       กรรมการ
                              ผู้มีอำนาจรายงานสารสนเทศ
______________________________________________________________________

สารสนเทศฉบับนี้จัดทำและเผยแพร่โดยบริษัทจดทะเบียนและบริษัทผู้ออกหลักทรัพย์ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ 
ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อการเผยแพร่ข้อมูลหรือเอกสารใดๆของบริษัทจดทะเบียนและบริษัทผู้ออกหลักทรัพย์
ต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเท่านั้น ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยไม่มีความรับผิดชอบใดๆ
ในความถูกต้องและครบถ้วนของเนื้อหา ตัวเลข รายงานหรือข้อคิดเห็นใดๆ ที่ปรากฎในสารสนเทศฉบับนี้
และไม่มีความรับผิดในความสูญเสียหรือเสียหายใดๆ ที่อาจเกิดขึ้นไม่ว่าในกรณีใด ในกรณีที่ท่านมีข้อสงสัย
หรือต้องการรายละเอียดเพิ่มเติม โปรดติดต่อบริษัทจดทะเบียนและบริษัทผู้ออกหลักทรัพย์ซึ่งได้จัดทำ
และเผยแพร่สารสนเทศฉบับนี้

หากท่านต้องการดูรายละเอียดสารสนเทศฉบับนี้แบบเต็ม โปรดคลิก "รายละเอียดแบบเต็ม"